การ share screen เป็นอีกคุณสมบัติพิเศษอีกอย่างหนึ่งของโปรแกรม zoom ผู้ใช้งานสามารถแชร์หน้าจอของตนเองให้ผู้ประชุมคนอื่นๆ เห็นหน้าจอพร้อมกันได้ ทั้งที่เป็นภาพ เสียง หรือวิดีโอ โดยมีวิธีการแชร์สกรีนดังนี้

Share screen ใน zoom

1. ในเบื้องต้น ผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของห้อง zoom จะสามารถแชร์หน้าจอได้ทันที → โดยการกดปุ่ม Share screen

กดปุ่ม Share screen

2. จากนั้นจะมีหน้าต่างแสดงขึ้นมาเลือกว่าจะแชร์แบบไหน

  • ให้เลือกแบบ Screen → เพื่อแชร์ทั้งหน้าจอ
  • หากต้องการให้ผู้ฟังคนอื่นได้ยินเสียงคอมพิวเตอร์จากผู้แชร์ด้วย → ให้ทำเครื่องหมายถูก หน้าคำว่า Share sound
  • และหากมีการแสดงผลที่เป็นวิดีโอต่างๆ ทั้งการเปิดจากคลิป Video หรือ Youtube → ให้ทำเครื่องหมายถูก หน้าคำว่า Optimize for video clip เพื่อทำให้การแสดงผลไหลลื่นมากยิ่งขึ้น
  • เสร็จแล้วให้กด Share

Share screen ทั้งจอ

3. หน้าจอของผู้ใช้งานก็จะถูกแชร์ไปยังคนอื่นๆ ด้วย

  • ทั้งนี้จะมีสถานะการ Share Screen ที่เป็นกรอบสีเขียว บ่งบอกว่าผู้ใช้งานกำลังแชร์หน้าจออยู่

share screen ใน zoom แล้ว

ขีดๆ เขียนๆ พิมพ์ข้อความบนหน้าจอที่แชร์

ผู้ที่แชร์สกรีนอยู่ สามารถใช้เครื่องมือเพิ่มเติมที่ช่วยในการอธิบายหรือนำเสนอได้ โดยการใช้เครื่องมือ Annotate ที่สามารถพิมพ์ข้อความต่างๆ หรือขีดเขียนเส้นต่างๆ เพิ่มเข้าไปได้

ใช้เครื่องมือ Annotate ใน zoom

แก้ไข share screen ใน zoom ไม่ได้

1. สำหรับผู้ใช้งานที่อยู่ในสถานะแขก เบื้องต้นอาจจะยังไม่สามารถแชร์หน้าจอได้

  1. โดยมักจะมีข้อความแจ้งเตือนขึ้นมาว่า “Host disabled participant screen sharing”

แจ้งเตือน Host disabled participant screen sharing

2. ทั้งนี้สามารถแก้ไขได้ โดยการให้เจ้าของห้อง zoom อนุญาตให้ผู้ใช้งานคนอื่นๆสามารถแชร์หน้าจอได้

  • โดยการกดที่ปุ่มลูกศรบริเวณปุ่มเมนู Share Screen → เลือก Advanced Sharing Options

ตั้งค่าการแชร์หน้าจอ

3. จากนั้นจะมีหน้าต่างขึ้นมาเพื่อให้ตั้งค่า ให้กำหนดค่าดังนี้

  • ในส่วนของ Who can share → ให้เลือกเป็น All Participants
  • ในส่วนของ Who can start sharing when someone else is sharing → ให้เลือกเป็น All Participants เช่นกัน
  • เสร็จแล้วให้กด x เพื่อปิดหน้าต่างได้เลย

กำหนดให้ทุกคน Share screen ได้

4. เพียงเท่านี้ก็ผู้ใช้งานคนอื่นๆจะสามารถ Share Screen ใน zoom ได้แล้ว